


LOPBURI FULL DAY TOUR
วันเดียวเที่ยวครบลพบุรี
จองเลยวันนี้ ราคารวมรถ VIP+ไกด์
อาหาร 2 มื้อ จอง 6 ท่านขึ้นไป / คนละ 1200 บาท
วันเดียวเที่ยวครบกับการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบที่จังหวัดลพบุรี
เที่ยวเมืองเก่าลพบุรี วัดพระศรีมหาธาตุ พระนารายณ์ราชนิเวศน์
บ้านวิชาเยนทร์ ศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด ทุ่งทานตะวัน
หรือ ทุ่งดอกไม้ที่กระเพราะคอฟฟี่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ น้ำตกวังก้านเหลือง
บางขันหมาก
Bangkhunmark .com
เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการท่องเที่ยว ตำบลบางขันหมาก และจังหวัดลพบุรี

Narai Ratchaniwet Palace
Construction of Narai Ratchaniwet Palace was commenced during the
rule of foreigner-friendly King Narai of Ayutthaya in 1665 and completed 12 years later.
โบราณสถาน พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี

พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้สร้างขึ้น ณ เมืองลพบุรี เมื่อประมาณ พ.ศ.2208-2209 มีข้อสันนิษฐาน
ที่สำคัญ คือ ใน พ.ศ. 2207 เกิดกรณีพิพาทระหว่างฮอลันดากับไทย ฮอลันดาได้นำเรือมาปิดปากอ่าวไทยและบังคับให้ไทยทำสนธิสัญญาเสียเปรียบทางการค้า
และเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำใหญ่ ไม่ห่างจากทะเล และด้วยเหตุผลทางการเมืองภายใน
ประเทศ พระองค์โปรดให้สร้างพระราชวังที่เมืองลพบุรี ใช้เป็นราชธานีที่สอง ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ไกลจากแม่น้ำใหญ่ มีป่า ภูเขา สัตว์ป่าชุกชุมทำให้
ต้องอัธยาศัยในการเสด็จเข้าป่าล่าสัตว์ล้อมจับช้างในบริเวณป่าใกล้เมืองลพบุรี พระองค์จึงรู้สึกปลอดภัยเมื่อประทับอยู่ที่เมืองลพบุรี


ข้อมูลทั่วไป
พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์มีพื้นที่ประมาณ 43 ไร่ ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยผสมตะวันตก สมเด็จพระ นารายณ์ทรงโปรดประทับ ณ เมืองลพบุรีเกือบตลอดปี เฉพาะฤดูฝนเท่านั้น จึงเสด็จไปประทับอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา เมืองลพบุรีจึงเป็นศูนย์กลางความเจริญตลอดรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2231 พระราชวังถูกทิ้งร้างจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 โปรด ฯ ให้ซ่อมแซมพระราชวังเดิมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ.2399 โปรดให้สร้างพระที่นั่งเพิ่มขึ้น และพระราชทานชื่อพระราชวังนี้ว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์"
พระราชวังหันเข้าหาตัวเมือง ด้านหลังติดแม่น้ำลพบุรี กำแพงพระราชวังก่ออิฐถือปูน กำแพงชั้นนอกสูงใหญ่โดยรอบ มีใบเสมาเรียงรายบนสันกำแพงตลอดตรงกึ่งกลางกำแพงมีป้อมปืนอยู่ 7 ป้อม ตรงฐานของป้อมปืนแต่ละป้อมเจาะเป็นช่องกลมเพื่อเสียบปืนใหญ่ กำแพงด้านในเจาะเป็นช่องสำหรับตามประทีป มีประตูทางเข้า 7 ประตู มีลักษณะโค้งแหลม ปัจจุบันเปิดให้เข้าได้เฉพาะประตูด้านหน้า ทางทิศตะวันออกเท่านั้น
พระที่นั่งและตึกที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช




พระที่นั่งจันทรพิศาล
เป็นพระที่นั่งซึ่งตรงกับบันทึกชาวฝรั่งเศสว่า เป็นหอประชุมองคมนตรี เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้
มีลักษณะคล้ายโบสถ์หรือ วิหารด้านหน้ามีมุขเด็จ เพื่อเสด็จออกให้ข้าราชการเข้าเฝ้าตรงชาลาหน้าพระลาน
เมื่อพระราชวังถูกทิ้งร้าง เครื่องบนพระที่นั่งปรักหักพัง เหลือแต่ผนัง ได้รับการซ่อมแซมให้สมบูรณ์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท
เป็นพระที่นั่งท้องพระโรงทรงสูง มียอดแหลมทรงมณฑป
ตรงกลางท้องพระโรงมีสีหบัญชรเป็นที่เสด็จออกเพื่อทรงมีพระราชปฏิสันถาร
กับผู้เข้าเฝ้า ฝาผนังประดับด้วยกระจกเงาซึ่งนำมาจากประเทศฝรั่งเศส
ประตูและหน้าต่างท้องพระโรงซึ่งอยู่ทางด้านหน้าทำเป็นโค้งแหลม
ส่วนตัวมณฑปที่อยู่ด้านหลังทำประตูหน้าต่างเป็นซุ้มแบบไทย
คือซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ผนังพระด้านนอกพระที่นั่งตรงมณฑปชั้นล่าง
เจาะเป็นช่องโค้งแหลมไว้สำหรับตามประทีป
ในเวลากลางคืน



พระที่นั่งสุทธาสวรรย์

เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่าพระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ในพระราชอุทยานที่ร่มรื่น ทรงปลูกพรรณไม้ต่างๆ ด้วยพระองค์เอง หลังคาพระที่นั่งมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ที่มุมทั้งสี่มีสระน้ำขนาดใหญ่ 4 สระ ใช้เป็นที่สรงสนานของพระเจ้า แผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์สวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ เมื่อ พ.ศ. 2231 ปัจจุบันเหลือเพียงแต่ฐานรากเท่านั้น

ตึกพระเจ้าเหา
ตึกหลังนี้แสดงให้เห็นลักษณะสถาปัตยกรรม สมัยสมเด็จพระนารายณ์ชัดเจนมาก ภายในตึกมีฐานชุกชีปรากฏให้เห็นอยู่บันทึกของชาว
ฝรั่งเศสระบุว่าเป็นวัด ตึกหลังนี้อาจเป็นหอพระประจำพระราชวังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปชื่อว่า "พระเจ้าเหา" ประตูหน้าต่างทำเป็นซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ผนังด้านสกัดสูงยันอกไก่ ตรงจั่วเจาะเป็นช่องโค้งแหลม มีกำแพงแก้วเจาะเป็นช่องสำหรับวางตะเกียงล้อมรอบตึก

ตึกเลี้ยงรับแขกเมือง
ตึกเลี้ยงรับแขกเมือง บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า ตึกหลังนี้อยู่กลางอุทยานเป็นตึกชั้นเดียวขนาดกระทัดรัด รอบตึกมีคูน้ำล้อมรอบสามด้านเป็นรูปตัวยู
ภายในคูน้ำมีน้ำพุพุ่งเรียงรายราว 20 แห่ง สมเด็จพระนารายณ์ได้พระราชทานเลี้ยงแก่คณะทูตจากฝรั่งเศส ณ สถานที่แห่งนี้
ใน พ.ศ. 2228 และพ.ศ.2230

สิบสองท้องพระคลัง (พระคลังศุภรัตน์ )
เป็นอาคารชั้นเดียวที่ตั้งอยู่ระหว่างถังเก็บน้ำประปาและตึกเลี้ยงรับแขกเมือง สร้างขึ้นเป็นเรือนยาวสองแถวเรียง ชิดติดกันอย่างมีระเบียบ เครื่องบนเป็นไม้มุงกระเบื้องกาบ ประตูและหน้าต่างเป็นแบโค้งแหลม อาคารข่อนค้างทึบ มีถนนผ่ากลางจำนวน 12 ห้องเข้าใจว่าเป็น คลังเก็บสินค้าเก็บสิ่งของเพื่อใช้ในราชการ


